Browsing posts tagged: ความโกลาหล
“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ สืบทอดปณิธานท่านพุทธทาส(จบ)

เมื่อเราได้เดินทางสืบค้นภูมิปัญญาของท่านพุทธทาสมาจนถึงบทนี้ เราจะพบว่าท่านพุทธทาสมี “อินทรีย์พิเศษ” ที่ทำให้ท่านมองได้อย่างแหลมคมและลึกซึ้งกว่าคนธรรมดาหลายสิบปี เนื่องจากท่านเดินบนเส้นทาง “พุทธมรรควิถี” อย่างแท้จริง ทำให้ท่านไม่จำเป็นจะต้องยึดมั่นถือมั่นดังที่ท่านได้บรรยายในหัวข้อ “หลุดพ้นเสียจากความหลุดพ้น” เมื่อท่านไม่ยึดติดกับเปลือกท่านจึงพลิกแพลงและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในการที่จะสื่อสารให้คนธรรมดาสามารถก้าวเข้าสู่เส้นทางของผู้ตื่น ผู้รู้ และผู้เบิกบานได้ ท่านจึงสามารถนำความรู้ทางวิทยาศาตร์ นำเรื่องจิตวิเคราะห์ของซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) หรืออัลเฟรด อาดเลอร์ (Alfred Adler) มา ทดลองใช้ในการสอนธรรมะได้ ท่านพุทธทาสยังคงให้ความสนใจเรื่องศิลปะและใช้งานศิลป์เป็นเครื่องมือในการแสดงธรรม ดังตัวอย่างที่ท่านได้บรรยายในหัวข้อ “ศิลปะสำหรับการมีชีวิตอยู่ในโลก” และได้สร้างโรงมหรสพทางวิญญาณขึ้นดังข้อความบางตอนที่ท่านได้เขียนจดหมายถึงสหายธรรมทาน “…อนึ่ง ขอวิงวอนผู้สนใจในการประกาศธรรมจงได้ร่วมมือกันสร้าง “โรงหนัง” แบบนี้ในลักษณะ ที่เหมาะแก่ท้องถิ่นของตัวกันขึ้นให้ทั่วหัวระแหงด้วยเถิด จะเป็น moral rearmament ทางศีลธรรมที่มีลักษณะเป็น dynamic อันมองไม่เห็นตัวอย่างรุนแรงในบรรยายกาศทั่วไป เพื่อประโยชน์แก่สันติภาพอันถาวรของมนุษย์เรา…” ท่านพุทธทาสท่านก้าวเร็วล้ำหน้าคนทั่วไปมากจนสิ่งที่ท่านพร่ำเตือนไว้เมื่อกว่า 50 ปีก่อนจึงยังไม่เข้าสู่หัวใจคนไทย เพราะคนทั่วไปยังไม่ประสบกับอันตรายอย่างชัดเจน แต่วันนี้สถานการณ์ของความเร้าร้อนรุนแรง (turmoil) มันอยู่รอบตัวเราทุกๆ วัน ตั้งแต่ความรุนแรงของวัยรุ่นในรูปแบบต่างๆ ความเสื่อมทางศีลธรรมของผู้นำทุกระดับและทุกวงการ จนถึงภัยพิบัติจากธรรมชาติ และการฆ่าฟันรายวันในทุกภาคโดยเฉพาะชายแดนภาคใต้ ไฟกำลังไหม้ห้องเก็บของของบ้านเราแล้ว ถ้าเราไม่ช่วยกันดับไฟนี้เราจะไม่มี “บ้าน” […]

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 6.Happiness is back

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2548 หนังสือพิมพ์รายวัน “ทาเกสสปีเกิล” ในกรุงเบอร์ลิน ได้ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์จิตแพทย์คนหนึ่งแห่งโรงพยาบาล “ชาร์ริแทร์” เธอพูดว่า ขณะนี้จำนวนผู้ป่วยจากความเครียดในประเทศเยอรมนีมีจำนวนเพิ่มสูงมากในระยะ 5 ปีหลัง ชาวเยอรมันจำนวนค่อนข้างมากมีความวิตกกังวลต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างคาดไม่ถึงสูงขึ้น คำว่า angst อันเป็นภาษาเยอรมันซึ่งแปลว่า “ความกลัว” ปรากฏมากขึ้นในสื่อมวลชนเยอรมัน และที่น่าสนใจก็คือในนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษก็รับคำว่า angst ไปใช้มากขึ้น เพราะมันสะท้อนความกลัวที่ลึกไปกว่าคำว่า fear ในภาษาอังกฤษ ถ้าเรากวาดสายตาไปรอบโลกจะพบว่าความกลัว (angst) ต่ออนาคตที่คาดเดาไม่ได้นั้น ไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นในประเทศเยอรมนีเท่านั้น ประเทศอื่นๆ อีกมากน่าจะมีผู้คนที่หวาดหวั่นต่ออนาคตที่ยังมาไม่ถึง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ? ทั้งๆ ที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก้าวไปไกลมากจนถึงสามารถชะลอความตายของมนุษย์ได้ อายุโดยเฉลี่ยก็สูงขึ้น ความสมบูรณ์พูนสุขทางวัตถุก็มีจนล้นเหลือ แต่คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะประเทศที่ก้าวหน้าในตะวันตกและญี่ปุ่นยังคงไม่ได้มีความสุขกว่า 50 ปีก่อน หรือกล่าวให้ชัดลงไปความสุขกลับน้อยลงกว่าอดีต มันเป็นโลกปริทรรศน์โดยแท้ จากความกลัวและความทุกข์ที่สังคมต่างๆ เผชิญในวันนี้ ทำให้นักคิด นักวิชาการ และประชาชน จำนวนหนึ่งเริ่มตั้งคำถามต่อทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นตัวเลขของความเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ แต่ไม่ได้คำนึงถึงเงื่อนไขด้านอื่นๆ ของสังคมว่าเป็นเป้าหมายที่ยังคงต้องเดินไปหามันหรือไม่ ริชาร์ด เลยาร์ด (Richard Layard) ได้เขียนหนังสือ […]

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 5.พุทธทาสกับโลกที่กำลังจะเลี้ยวกลับ

เมื่อไม่นานมานี้ มีนักเขียนหนุ่มชาวอินเดีย ชื่อ ซาอิด ฮัสซัน (Zaid Hassan) ได้เขียนบทความชิ้นหนึ่ง ชื่อ “อักษรยู : ภาษาแห่งการฟื้นฟูพลัง” (The U : Language of Regeneration) เขาพูดถึงความจำเป็นที่มนุษย์ในปัจจุบันต้องสนใจฝึกฝนตนเองให้มีวิธีมอง “แบบใหม่” เพื่อทำให้มีสายตาที่แหลมคม (insight) “วิธีมองแบบใหม่” นี้เป็นสิ่งที่ผู้รู้หรือนักปราชญ์ในอดีตสามารถทำได้เป็นกิจวัตร ซาอิดบรรยายถึงความสำคัญในการใช้ทักษะนี้พินิจพิจารณาโลก เพราะโลกวันนี้มันเปลี่ยนแปลงพลิกผันเร็วจี๋อย่างไม่มีใครคาดเดาได้ เปรียบเสมือนว่าเรากำลังเผชิญสัตว์ร้ายที่คาดเดาอารมณ์มันไม่ถูก เมื่อเราเผชิญหน้ากับสัตว์ร้ายตัวนี้ เราก็ต้องรับมือกับมันให้ได้ อุปมาอุปไมยที่ซาอิดยกขึ้นมาใน พ.ศ.2548 นั้น ท่านอาจารย์พุทธทาสกล่าวเอาไว้เมื่อหลายสิบปีมาแล้วว่า เราต้องระวัง “เขี้ยวของโลก” อย่าให้เขี้ยวของโลกมาขบกัดเราได้ เราต้องทำตัวเสมือนลิ้นงูที่อยู่ได้ในปากงูโดยไม่ถูกเขี้ยวงูทำร้าย ชีวิตประจำวันของเราคนไทย ไม่ว่าจะอยู่ในกรุงเทพฯหรือหมู่บ้านไกลปืนเที่ยงล้วนมีโอกาสถูก “เขี้ยว” ของโลกขบกัดได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอันตรายฉับพลันจากธรรมชาติ จากอาชญากรรม จากโรคระบาด จากอุบัติภัย ทุพภิกขภัย และภัยจากโรคระบาด หรือโอกาสของการพลิกผันของสถานการณ์ธุรกิจและการเมืองเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ในระยะสิบปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการล้มระเนนระนาดของเผด็จการในประเทศต่างๆ เช่น ในอดีตประเทศที่เคยอยู่กับสหภาพโซเวียตมาก่อน ไม่เพียงแต่การล่มสลายของระบบการเมืองผูกขาด บรรษัทใหญ่ๆ ของโลกที่นิตยสารธุรกิจเคยยกย่องว่ามีอำนาจและอิทธิพลไปทั่วโลก […]

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 4.พุทธทาสกับทฤษฎีไร้ระเบียบ

จากการได้ติดตามอ่านสิ่งที่ท่านพุทธทาสได้กล่าวเตือนเรื่องโลกที่กำลังอันตรายจากการโยกโคลงและหมุนเร็วจี๋เกินขอบเขต ทำให้ผมอดถามตนเองไม่ได้ว่าท่านพุทธทาสสามารถมองเหตุการณ์ล่วงหน้าได้เร็วกว่านักวิชาการตะวันตกถึง 30-40 ปีได้อย่างไร ? ท่านใช้หลักอะไร และวิธีการอะไร ในการมองทะลุ (insight) ทั้งๆ ที่สมัยนั้นยังไม่มีอินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ คำว่าโลกาภิวัตน์ยังไม่ได้บัญญัติ แต่ท่านบอกว่าโลกกำลังอยู่ใน turmoil ท่านก็รู้ล่วงหน้าแล้วว่าอันตรายใหญ่หลวงน่ากลัวต่อมนุษยชาติได้เกิดขึ้นแล้ว ท่านเตือนเรื่องการอยู่อย่างเท่าทันโลก ไม่ให้ถูก “เขี้ยวของโลก” ขบกัดได้ เสมือนลิ้นงูที่อยู่ในปากงูแต่ไม่ถูกเขี้ยวงูขบกัด ถ้าจะเปรียบกับทฤษฎีไร้ระเบียบ ท่านพุทธทาสมีความเข้าใจลึกซึ้งต่อระบบที่ห่างไกลจากจุดสมดุล (system far from equilibrium) ท่านรู้กฎของวิทยาศาสตร์แห่งความอนิจจัง (science of becoming) เป็นอย่างดี ดังนั้นเมื่อท่านจับการเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไขเบื้องต้น (initial condition) และเห็นการเชื่อมโยงป้อนกลับของปัจจัยต่างๆ ที่กระทำต่อกันและกัน ท่านจึงรู้เรื่อง “ผลกระทบผีเสื้อ” (butterfly effect) ที่เหตุเล็กๆ สามารถสร้างผลสะเทือนใหญ่ได้ พูดง่ายๆ ท่านเข้าใจแก่นแท้ของศาสตร์แห่งความไร้ระเบียบอย่างดียิ่ง โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องพูดตัวทฤษฎี ปริศนาที่ผมถามตัวผมเอง และพยายามค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ผมพอสรุปเป็นข้อมูลสมมติฐานว่าอัจฉริยภาพของท่านพุทธทาสในการเข้าใจแก่นของทฤษฎีไร้ระเบียบน่าจะมาจากการที่หลักการการคิดและวิธีการแสวงหาปัญญา ดังนี้ ข้อที่หนึ่ง ว่าด้วยหลักอิทัปปจยตา อันเป็นกฎที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เป็นเรื่องการพึ่งพิงอิงกันของปัจจัยต่างๆ ที่เชื่อมโยงกระทบถึงกันและกันหมด […]

พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 3.โลกไร้ระเบียบในทรรศนะของท่านพุทธทาส

ในหนังสือชื่อ “บันทึกนึกได้เอง” ที่ นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช ได้จัดพิมพ์ขึ้นด้วยการถ่ายสำเนาลายมือท่านพุทธทาสที่บันทึกไว้ในหนังสือไดอะรี่ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2495 ท่านได้เขียนว่า “ครั้นบัดนี้โลกโคลง เร่าร้อนอย่างยิ่ง จนเราต้องเตรียมใจกันใหม่เพื่อรับหน้า” ต่อมาวันที่ 16 เมษายน ท่านได้ตั้งคำถามว่า “โลกต้องการอะไรบ้าง เพื่อลดความเร่าร้อนรุนแรงให้เย็นลง” ซึ่งท่านได้วงเล็บภาษาอังกฤษกำกับไว้ด้วย to cool the present turmoil ในปีเดียวกันอีกนั่นเอง ท่านบันทึกไว้ในสมุดที่เป็นหน้าของวันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2495 ท่านเขียนตัวโตไว้กลางกระดาษเพื่อย้ำความสำคัญเป็นอักษรพาดหัวใหญ่ว่า “โลกหมุนเร็วขึ้นทุกที ?” แล้วเสริมรายละเอียดข้อสังเกตด้วยลายมือของท่านเองดังนี้ “นักวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะทาง physics ย่อมไม่เชื่อและเห็นด้วย แต่สำหรับนักธุรกิจ นักรัฐศาสตร์ หรือนักการเมือง และอื่นๆ อีกเป็นอันมากย่อมมองเห็นชัด และเชื่อว่าโลกหมุน “จี๋” ยิ่งขึ้นทุกที และจะหมุนเร็วขึ้นอีกจนละลายไป เพราะการหมุนเร็วเกินขอบขีดนั้นก็ได้” นี่เป็นข้อห่วงใยที่ท่านพุทธทาสมีต่อโลกและมนุษยชาติ สิ่งที่ท่านได้เขียนเอาไว้และกล่าวไว้ในหลายๆ ที่ในเวลาต่อมา ไม่ได้ต่างไปจากช่วงเวลานั้นเลย นักรัฐศาสตร์ นักธุรกิจและนักสังคมศาสตร์ […]

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 2.ว่าด้วยหลักคิดของทฤษฎีไร้ระเบียบในมุมของวิทยาศาสตร์

ความไร้ระเบียบในความหมายทางวิทยาศาสตร์ คือ สภาพและกระบวนการของระบบที่ไร้เสถียรภาพ (unstable) อันมีความอ่อนไหวสูงยิ่งและเปราะบาง เมื่อมีการกระทบเพียงเล็กน้อยในสาเหตุเบื้องต้น (initial condition) แต่เมื่อเกิดบ่อยๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เหตุเล็กๆ เพียงเบื้องต้นทำให้เกิดพัฒนาของระบบที่ดำเนินไปอย่างไม่เป็นเส้นตรง เป็นเส้นทางคดเคี้ยว กวัดแกว่ง บางครั้งถึงก้าวกระโดดฉับพลัน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจึงทำนายให้ถูกต้องแม่นยำได้ยาก ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งตรงกันข้ามกับแนวคิดหลักที่เชื่อถือกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่สามารถคำนวณได้อย่างถูกต้องไม่ผิดพลาด ขอให้รู้สมมติฐานอันเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นให้ชัดเจน จริงๆ จะสามารถทำนายผลลัพธ์ออกมาได้อย่างแม่นยำ ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมนั้นเราสามารถศึกษาได้จาก Edward Lorenz แห่งสถาบัน MIT เมื่อกลางทศวรรษที่ 60 อาจารย์ด้านอุตุนิยมวิทยา (meteoro logy) ผู้นี้พยายามสร้างโมเดลการคำนวณในการพยากรณ์อากาศโดยใช้สมการง่ายๆ แสดงการ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับกระแสลม เขาป้อนข้อมูลที่จุดทศนิยม 6 หลัก คือ 0.506127 เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งพิมพ์ผลออกมาทุกๆ นาทีด้วยความ เบื่อที่นั่งคอยผลลัพธ์นานๆ เพราะคอมพิวเตอร์ยุคนั้นทำงานช้า Lorenz จึงตัดตัวเลขหลังจุดทศนิยมออกไปเสีย 3 หลัก ให้เหลือ 0.506 เขาเอาผลลัพธ์จากระยะหนึ่งมาเป็นจุดเริ่มต้นของการคำนวณ แล้วสตาร์ตโปรแกรมใหม่ ผลของการคำนวณระยะแรกเหมือนกับการทดลองเก่าๆ ที่เคยทำมาครั้งแล้วครั้งเล่า […]

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ 1.โลกไร้ระเบียบของวันนี้และวันพรุ่ง

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลงใหม่ๆ ป้อมค่ายทางเศรษฐกิจและการเมืองได้มีการแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายอย่างชัดเจน ฟากหนึ่งเป็นโลกทุนนิยมที่สหรัฐอเมริกาเป็นพี่เอื้อย ส่วนอีกฟากหนึ่งเป็นโลกสังคมนิยมที่มีสหภาพโซเวียตเป็นแกนและสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ เวลานั้นสามารถจำแนกมิตรและศัตรูกันได้ชัดเจน ถึงแม้จะมีกลุ่มไม่ฝักฝ่ายค่ายใดอยู่ประมาณ 30 ประเทศที่ขออยู่ตรงกลางไม่เป็นพวกใครเต็มตัวเป็นเกาะเล็กๆ ท่ามกลางทะเลแห่งการต่อสู้อย่างดุเดือดทางอุดมการณ์สองลัทธิ การขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหารของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต จะไม่ลดละให้แก่ฝ่ายใดสักนิ้วเดียว สองอภิมหาอำนาจไม่ยอมให้มีการเพลี่ยงพล้ำดุลแห่งกำลังเป็นอันขาด เพราะการไม่คานกำลังกันโดยเฉพาะด้านกำลังอาวุธมันจะกลายเป็นการคุกคามความมั่นคงของแต่ละอภิมหาอำนาจ พูดง่ายๆ เมื่อตาชั่งแห่งแสนยานุภาพทางทหาร เอียงไปข้างใดเกินไป โลกจะไม่มั่นคงทันที ในห้วงเวลาตั้งแต่พุทธศักราช 2488 ถึง 2533 แม้จะมีสงครามตัวแทนและสงครามเพื่อเอกราชประชา ธิปไตยในทวีปแอฟริกา เอเชีย และอเมริกาใต้เกิดขึ้นตลอดเวลา แต่โลกก็ยังมีเสถียรภาพอยู่ เพราะแต่ละอภิมหาอำนาจรู้ดีว่า “เส้นแบ่งเสถียรภาพ” นั้นอยู่ตรงจุดใด และไม่ควรล้ำเส้นนี้ออกไป มันเป็นโลกที่ดูเหมือนอันตราย แต่แก่นแท้แล้วมีเสถียรภาพมั่นคง เพราะมันตรรกะที่ชัดเจน มองเห็น “เส้น” ชัดเจนแต่ละฝ่ายสามารถคำนวณและหยั่งเชิงกันได้ ไม่ให้ “ออกนอกกรอบ” แห่งดุลกำลัง ทั้งสองฝ่ายรู้ว่าตนเองต้องเล่นตามกฎและกติกา เพื่อจะได้ไม่ปล่อยให้เรื่องเล็กๆ ความไม่เข้าใจกันหรือความเข้าใจผิดเล็กน้อย (ดังกรณีคิวบาในปี 2505 เกิดขึ้นอีก) มาทำให้เรื่องบานปลายเป็นสงครามนิวเคลียร์ ซึ่งพินาศย่อยยับกันทั้งคู่ มันเป็นโลกที่มีความชัดเจน และ “เป็นระเบียบ” […]

เอกสารอ้างอิง และหนังสืออ่านประกอบ

1. Kl Aihara and R. Katayama, “Chaos Engineering in Japan”, Communications of the ACM, Vol 38 No 1, November 1995 (กล่าวถึงการประยุกต์ทฤษฎีความโกลาหลในด้านวิศวกรรม โดยเน้นผลงานในญี่ปุ่น จากที่มีความเข้าใจเรื่องนี้ดีที่สุดคนหนึ่งในญี่ปุ่น) 2. W. Ditto and T. Munakata, “Principles and Applications of Chaotic Systems,Communications of the ACM, Vol 38 No 1, November 1995 (กล่าวถึงทฤษฎีความโกลาหลและการประยุกต์ใช้อย่างกว้าง ๆ และค่อนข้างเข้าใจง่าย) 3. J. Gleick, “Chaos: Making a New Science”, […]

การประยุกต์ใช้ทฤษฎีความโกลาหลในสังคมศาสตร์

ในด้านเศรษฐศาสตร์ การประยุกต์ใช้ทฤษฎีความโกลาหลมีมานานแล้ว และการประยุกต์ใช้ในปัจจุบันมักเป็นไปอย่างรัดกุมคล้ายกับด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ที่กล่าวว่า การประยุกต์ใช้ใน ด้านนี้มีมานานแล้วนั้นสามารถดูได้จาก ผลงานของแมนเดลบรอท (Mandelbrot) ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ช่วยสถาปนาศาสตร์แห่งความโกลาหลขึ้นในทศวรรษ 1960 แมนเดลบรอทนำเศรษฐศาสตร์มาผูกกับทฤษฎีความโกลาหล ด้วยการวิเคราะห์อนุกรมตามลำดับเวลาของราคาฝ้าย แล้วพบลักษณะความคล้ายกับตัวเองแบบแฟรกตัล นั้นก็คือลักษณะการเปลี่ยนแปลงราคาฝ้ายเมื่อมองในสเกลรายวันคล้ายกับเมื่อมองในสเกลรายเดือน ในปัจจุบันการวิจัยระบบเศรษฐกิจโดยอาศัยทฤษฎีความโกลาหลนี้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์กำลังดำเนินไปอย่างแข็งขันโดยผลงานวิจัยที่รวมเล่มเป็นหนังสือก็กำลังทยอยพิมพ์ออกมา (โดยเฉพาะที่พิมพ์จาก MIT Press)ในด้านการเงิน วิวาทะเรื่องทฤษฎีความโกลาหลกำลังดำเนินไปอย่างดุเดือดอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะแนวความคิดตามทฤษฎีความโกลาหลได้เพิ่มมุมมองใหม่อันท้าทายให้กับการวิวาทะว่าสมมติฐานเรื่อง “ตลาดมีประสิทธิภาพ” (efficient market) กล่าวโดยย่อ ตลาดการเงินที่มีประสิทธิภาพหมายถึง ตลาดที่ผลของสารสนเทศต่าง ๆ ได้สะท้อนออกมาในราคาของหลักทรัพย์ในตลาดอย่างหมดสิ้นและทันที จุดที่ก่อให้เกิดการวิวาทะก็คือ หากสมมติฐานนี้เป็นจริง ราคาหลักทรัพย์ในตลาดจะแกว่งขึ้นลงแบบสุ่ม (Random Walk) จึงป่วยการที่บรรดานักวิเคราะห์หลักทรัพย์ทั้งนักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและนักวิเคราะห์ปัจจัยเชิงเทคนิคจะพยายามทำนายราคาหลักทรัพย์ หรือแนะนำลูกค้าว่าควรซื้อหลักทรัพย์ใด เพราะผลที่ได้จะไม่มีอะไรดีกว่าให้ลิงจับฉลากเลือก เมื่อเราดูกราฟการขึ้นลงของราคาหลักทรัพย์ที่แสนจะดูเหมือนไร้แบบแผน สมมติฐานนี้ก็ดูเป็นเรื่องน่าเชื่อขึ้นมาการกำเนิดขึ้นของทฤษฎีความโกลาหลได้สร้างความหวังแก่ผู้ที่ไม่เชื่อว่า ตลาดมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพราะหากราคาฝ้ายมีลักษณะความคล้ายกับตัวเองแบบแฟรกตัลล (ซึ่งหมายถึงว่ามันเคลื่อนไหวภายใต้กฎเกณฑ์ที่ตายตัว) ได้แล้ว ทำไมราคาหลักทรัพย์หรืออัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราจึงจะมีลักษณะเช่นเดียวกันไม่ได้ และหากตลาดหลักทรัพย์เป็นระบบโกลาหลแล้ว แม้เราจะทำนายอนาคตระยะไกลของมันไม่ได้ เราก็ยังมีความหวังที่จะทำนายอนาคตระยะใกล้ของมันอย่างไม่คลาดเคลื่อนนัก อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า ทั้งฝ่ายที่เชื่อและไม่เชื่อว่าตลาดหลักทรัพย์เป็นเหรือไม่เป็นระบบโกลาหลนั้น คงต้องสนุกกันต่อไปอีกนาน เพราะจนถึงปัจจุบันนี้ ยังไม่มีผลการวิจัยที่ตัดสินอะไรเด็ดขาดออกมาเลย แม้ว่าจะมีหลักฐานมากมายว่ามันเป็นระบบแบบไม่เป็นเชิงเส้นก็ตาม เอกสารอ้างอิงโดย : […]

การศึกษาทฤษฎีความโกลาหลมีประโยชน์อย่างไร?

ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ ผมขอกล่าวถึงความสำคัญของการศึกษาทฤษฎีนี้ก่อน สาเหตุที่การศึกษาทฤษฎีความโกลาหลมีความสำคัญก็เพราะว่า เราเชื่อกันว่า ระบบในธรรมชาติ โดยมากมี ลักษณะโกลาหล แม้ว่าเรายังไม่มีวิธีการที่แน่นอนในการตัดสินว่า ระบบใดระบบหนึ่งเป็นระบบโกลาหลหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะเหลุผลหลาย ๆ ประการเช่น มีหลักฐานว่าระบบในธรรมชาติที่เป็น ระบบเชิงเส้นจริงๆ น้อยมาก จนถือได้เลยว่าเป็นข้อยกเว้น (แม้แต่กฎของฮุก ที่อธิบายถึงการยืดของสปริงด้วยสมการเชิงเส้น ก็เป็นเพียงการประมาณอย่างหยาบๆ ) นอกจากนี้ เรายังพบด้วยว่าระบบไม่น้อยแสดงคุณสมบัติไวต่อสภาวะตั้งต้น เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ การศึกษาทฤษฎีความโกลาหลจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนคำถามที่ว่า ศึกษาทฤษฎีนี้ไปแล้วจะได้ประโยชน์อะไรบ้างนั้น สามารถตอบได้ว่า ทฤษฎีความโกลาหลมีประโยชน์อย่างน้อยใน 3 ทางด้วยกัน คือ ใช้ในการวิเคราะห์ระบบและทำนายอนาคตใช้ในการสร้างระบบโกลาหล และใช้ในการควบคุม-สร้างความเสถียรให้กับระบบ ดังสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้ 1) ใช้ในการวิเคราะห์ระบบและทำนายอนาคตอย่างที่กล่าวข้างต้นว่า แม้ว่าเราจะไม่สามารถทำนายอนาคตของระบบโกลาหลในระยะยาวได้ เราก็ยังมีโอกาสทำนายอนาคตของมันในระยะสั้นได้ หากเราสามารถหาโมเดลที่อธิบายพฤติกรรมของระบบนั้น และทราบสภาวะตั้งต้นอย่างแม่นยำพอสมควร ในปัจจุบัน การวิจัยเพื่อทำนายอนุกรมตามลำดับเวลา (time-series data) ด้วยแนวคิดของทฤษฎีความโกลาหลกำลังดำเนินไปอย่างเข็งขัน และมีการจัดการแข่งขันทุกปี ที่สถาบันวิจัยแห่ง ซานตาเฟ (santafe Research Institute) ในสหรัฐอเมริกา ตัวอย่างของการประยุกต์ในแนวนี้ได้แก่ การทำนายความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด(peak […]