Browsing posts tagged: ความโกลาหล
The Chaos Point : โลกย่างเข้าสู่ทางสองแพร่ง (1)

คอลัมน์ ผ่ามันสมองของปราชญ์  โดย ไสว บุญมา  ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 08 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3869 (3069) ในช่วงนี้มีข่าวทุกวันเกี่ยวกับเหตุการณ์จำพวกเลวร้ายจนทำให้ดูเสมือนว่าโลกกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤต ในความเห็นของนักปรัชญา Ervin Laszlo ที่เป็นเช่นนั้นเพราะโลกของเรากำลังสับสนวุ่นวายด้วยปัญหาสารพัด และกำลังเดินเข้าสู่ช่วงที่จะเกิดจุดพลิกผันอันสำคัญยิ่ง เมื่อสิ่งต่างๆ ที่เป็นปัจจัยทำให้โลกวิวัฒน์มาถึงจุดนี้แตกสลาย ยังผลให้โลกไม่สามารกลับไปสู่สภาพเดิมได้อีก โลกอาจจะล่มสลาย หรืออาจจะวิวัฒน์ต่อไปอย่างราบรื่นก็ได้ เพื่อสนับสนุนความเห็นนั้น เขาเพิ่งเขียนหนังสือเล่มใหม่ออกมาและตั้งชื่อว่า The Chaos Point : The World at the Crossroads หนังสือขนาด 200 หน้าเล่มนี้แบ่งเป็น 8 บทในสองภาค เสริมด้วยคำนำของนักเขียนนวนิยายเชิงวิทยาศาสตร์ Sir Arthur C. Clarke บทนำ ปัจฉิมลิขิตและภาคผนวก ซึ่งประกอบด้วยการก่อตั้งสมาคมบูดาเปสต์ (Budapest Club) ข้อคิดเห็นของสมาชิกและเอกสารของสมาคมนั้น ผู้เขียนอ้างว่าในปัจจุบันโลกมีปัญหาหนักหนาสาหัสซึ่งแสดงอาการออกมาในรูปต่างๆ […]

ทฤษฎีความโกลาหล

ปัจจุบันในเรื่องของ “ทฤษฎีความโกลาหล” หรือ Chaos Theory จะไม่ใช่แนวความคิดใหม่อะไรอีกต่อไปแล้ว ก็ยังดูเหมือนว่า มีผู้เข้าใจมัน น้อยเหลือเกิน จากการที่ได้ฟังคนพูด หรือเขียนเรื่องนี้ อย่างค่อนข้างคลาดเคลื่อนกันมาก ไปถึงขั้น “เลอะเทอะ” ผมหวังว่า บทความนี้ จะช่วยให้เกิดความเข้าใจ ต่อทฤษฎีโกลาหลถูกต้องมากขึ้น ก่อนจะพูดถึง “ทฤษฎีความโกลาหล” เราคงต้องอธิบายกันเสียก่อนว่า “ความโกลาหล” หรือ Chaos คืออะไร? เพราะจุดนี้คือจุดที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดมากที่สุด บางคนเข้าใจว่า “ความโกลาหล คือ หนทางไปสู่ความพินาศ” บางคนก็คิดว่า “สิ่งที่โกลาหลคือสิ่งที่ไม่สามารถทำนายได้ เพราะแม้แต่ที่จะเข้าใจมันก็เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เสียแล้ว” ซึ่งคล้ายกับความเข้าใจของคนอีกไม่น้อยที่ว่า “ทฤษฎีความโกลาหลต้องการบอกว่า ธรรมชาติมีแต่ความไร้ระเบียบ” บางคนก็อ้างทฤษฎีความโกลาหลพยากรณ์เรื่องต่างๆ ไปถึงขั้นที่กล่าวว่า “ทฤษฎีความโกลาหลพยากรณ์ว่า โครงการ X ไม่มีทางทำได้สำเร็จ” โดยที่โครงการ X เป็นอะไรได้สารพัดตั้งแต่ โครงการจูราสิคปาร์ก ไปจนถึงการปฏิรูปทางการเมืองไทย เป็นต้น แท้ที่จริงแล้ว “ความโกลาหล” ในทฤษฎีความโกลาหล ก็คือ ปรากฏการณ์ที่ดูเหมือนว่า เกิดขึ้นอย่างสะเปะสะปะ แต่ที่จริงแล้วแฝงไปด้วยความเป็นระเบียบ […]